เครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Digital Vibration Meter)

เครื่องวัดความสั่นสะเทือน

Virbration Meter

การสั่นสะเทือน คือการสั่น หรือแกว่งของวัตถุเมื่อเทียบกับจุดอ้างอิง เช่น การสั่นของมอเตอร์ การสั่นของเครื่องจักรที่ยึดอยู่กับฐาน เป็นต้น

หน่วยการวัดความสั่นสะเทือนมี 3 หน่วย ขึ้นอยู่กับการใช้งานตามตารางที่ 1


 
1. การวัดระยะทางของการสั่นสะเทือน
    (Displacement)
2. การวัดความเร็ว
    (Velocity)
3. การวัดอัตราเร่ง
   (Acceleration)
ความหมาย
วัดว่าในการสั่นแต่ละรอบมีระยะเคลื่อนที่ไปจากจุดอ้างอิงเท่า โดยวัดแบบเต็มคลื่น (Peak to Peak)
วัดว่าในการสั่นแต่ละรอบมีความเร็วเท่าไหร่ โดยวัดแบบ RMS
วัดการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลาของวัตถุที่มีการเคลื่นที่
หน่วยการวัด
นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือนิ้ว(inch)
นิยมวัดเป็นมิลลิเมตรต่อวินาที (mm/s)
นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาทีกำลังสอง (mm/s2)
การใช้งาน
มักใช้กับเครื่องจักรที่มีรอบต่ำๆ ไม่เกิน 1200 รอบ/นาที หรือการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ไม่เกิน 20 Hz
ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบมากว่า 1,200 รอบ/นาที หรือการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ระหว่าง 20 Hz-1000 Hz
มักใช้วัดกับการสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงตั้งแต่ 10 kHz ขึ้นไป

    การวัดความสั่นสะเทือน โดยปกติเราจะวัดความสั่นสะเทือน 3 แกน ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 แนวการวัดความสั่น

  • A คือวัดในแนวแกนเพลา
  • H คือวัดในแนวรัศมีแนวนอน
  • V คือวัดในแนวรัศมีแกนตั้ง

มาตรฐานการวัดความสั่นสะเทือน

  • Class1 : เครื่องจักรขนาดเล็กมีกำลังต่ำกว่า 15 kW
  • Class2 : เครื่องจักรขนาดกลาง มีกำลังตั้งแต่ 15 ถึง 75 kW หรือเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 75 ถึง 300 kW ที่ติดตั้งบนฐานยึดที่แข็งแรง
  • Class3 : เครื่องจักรขนาดใหญ่ มีกำลังมากกว่า 300 kW ที่ติดตั้งบนฐานที่ยึดแน่น (Rigid Foundation)
  • Class3 : เครื่องจักรขนาดใหญ่ มีกำลังมากกว่า 300 kW ที่ติดตั้งบนฐานที่ยึดแน่น (Rigid Foundation)
Visitors: 156,200