เครื่องวัดค่ากำลังไฟฟ้า (Power Analyzer/Meter)

เครื่องวิเคราะห์ค่ากำลังงานไฟฟ้า

Power Quality Analyzer/Meter

Power Meter (พาวเวอร์มิเตอร์)  คือ  เครื่องมือวัด ที่ใช้วัดและสามารถแสดงค่าเป็นพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้า โดยสามารถใช้วัดแรงดันไฟฟ้า( V ) กระแสไฟฟ้า ( I ) กําลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (Reactive Power) กำลังไฟฟ้าจริง และ Harmonic โดยส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมจะนำตัว Power Meter ไปใช้วัดค่าไฟฟ้าในขบวนการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและยังสามารถช่วยจัดการด้านพลังงานไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องเพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ในด้านการควบคุมหรือนำไปปรังปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด และจำเป็นต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด นี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อความเที่ยงตรงของการวัด

Power Meter เปรียบเสมือน การรวมเครื่องมือวัด Multimeter กับ Clamp Meter เข้าด้วยกันจึงสามารถวัดได้ทั้ง แรงดันไฟฟ้า (V), กระแสไฟฟ้า (I), ความต้านทาน (Ω) และฟังชั่นอื่นๆ ของเครื่องมือทั้ง 2 ประเภทนี้อีกด้วย

Power meter จะใช้วิเคราะห์กำลังไฟฟ้าหลักๆ 3 ประเภทดังนี้

  1. Active Power (P) คือกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง ซึ่งเกิดการโหลดจากการต้านทาน จะมีหน่วยวัดเป็นวัตต์(W) หรือกิโลวัตต์(kW) ซึ่งจะมีวิธีคำนวณได้จากสมการ P= V x 1 x Cos(zeta)
  2. Reactive Power (Q) คือ กำลังไฟฟ้าที่ศูนย์เสียไปหลังจากการเกิดการโหลดตัวเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุซึ่งมีหน่วยเป็นวาร์(VAR) หรือ กิโลวาร์(kVAR) ซึ่งจะคำนวณได้จากสมการ  Q=V x Ax Sin (zeta)
  3. Apparent Power (A) คือกำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ(Input) หรือผลรวมทางเวกเตอร์ของไฟฟ้าจริง และกำลังไฟฟ้าที่ศูนย์เสีย จะมีหน่วยเป็นโวลต์ แอมแปร์ (VA) หรือกิโลโวลต์ แอมแปร์ (kVA) ซึ่งจะคำนวณได้ตามสมการ Q= Vx A x Sin(zeta)

เพาเวอร์มิเตอร์เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประโยชน์และใช้งานง่ายที่สุดในการวัดกำลังไฟฟ้าเมื่อไม่ต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลที่วัดได้อย่างละเอียด มันวัดแรงดัน (V) และกระแส (A) และได้มาจากผลลัพธ์ด้านพลังงานที่สำคัญที่สุดเหล่านี้ เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าเหมาะอย่างยิ่งสำหรับช่างเทคนิคและวิศวกรที่ทำงานง่ายๆ เช่น การวัดกำลังไฟฟ้าขณะสแตนด์บาย คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดคือการวัดกำลังที่รวดเร็ว แม่นยำและง่ายดายตลอดจนการใช้งานที่ง่ายดายบนยูนิตพื้นฐานที่เหมือนกันกับเครื่องมือ 

  • การใช้งานทั่วไปสำหรับเครื่องวัดกำลังไฟฟ้า

เครื่องวัดกำลังใช้งานง่าย แม่นยำ และเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับโซลูชันการวัดค่ากำลังไฟฟ้า ที่คุ้มค่า สำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น การทดสอบสายการผลิตของอุปกรณ์ไฟฟ้า การประเมินอุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ การประเมินแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วย DC การประกันคุณภาพ การวัดประสิทธิภาพสำหรับมอเตอร์อุตสาหกรรม เครื่องจักรหมุนและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ สำหรับงานติดตั้งและบำรุงรักษา และบางส่วนสำหรับการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ยังใช้ในการวัดกำลัง grid

  • หลักการทำงานของเครื่องวัดกำลังไฟฟ้า

เครื่องวัดกำลังโดยทั่วไปจะมีช่องการวัด 1, 3 หรือ 6 ช่อง พวกเขาสามารถวัดพารามิเตอร์ทั้งหมดในระบบกระแสสลับ (AC) หรือกระแสตรง (DC) เช่น พลังงานปรากฏ พลังงานแอคทีฟและรีแอกทีฟ กระแส แรงดัน ความถี่ ตัวประกอบกำลัง พลังงานที่ปรากฎ พลังงานแอคทีฟและพลังงานปฏิกิริยา 

เครื่องมือที่วัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานไฟฟ้า โดยมีค่าพารามิเตอร์หลักเพื่อนำมาวิเคราะห์ค่าพลังงาน ได้แก่ ค่าแรงดัน (Voltage), ค่ากระแส (Current), ค่ากำลังไฟฟ้า (Watt), ความถี่ (Frequency), ตัวประกอบกำลัง (Power factor) เป็นต้น ทั้งนี้การวัดมีทั้งแบบการวัดแบบ เฟสเดียว (Single-phase) และ สามเฟส (Three-phase) เราสามารถเลือกการใช้งานตามรายละเอียดด้านล่าง

                                                                                                                                                                        credit by     

Visitors: 144,377